บรรจุภัณฑ์ กับปัญหาสิ่งแวดล้อม

ความต้องการบรรจุภัณฑ์มีปริมาณเพิ่มขึ้นเนื่องจากปัจจัยทางสังคมและ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเพิ่มจำนวนประชากร การเพิ่มขึ้นของเครือข่ายของการคมนาคมจากทุกส่วนของโลก กำลังผลิตสินค้าอุปโภคและ บริโภคสูงขึ้น มนุษย์ต้องการความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น กล่าวโดยรวม รูปแบบการบริโภคของสังคมได้เปลี่ยนไปมากในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาสิ่งที่เป็นปัญหาอันเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลง คือ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

packaging evi2

สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งที่มีชีวิตได้แก่ คน สัตว์ พืช ส่วนสิ่งที่ไม่มีชีวิตได้แก่ น้ำ ดิน อากาศ พลังงาน แร่ธาตุ และรวมถงสังคม และวัฒนธรรม


 ปัญหาสิ่งแวดล้อม เกิดจากการที่สภาพแวดล้อมไม่สามารถจะฟื้นตัวเองได้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ดี เช่นเดิม ทำให้เกิดผลกระทบอต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม

  ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษยชาติเผชิญอยู่มีไม่น้อยกว่า 7 ลักษณะได้แก่ การลดลงองทรัพยากากรธรรมชาติ การเกิดมลพิษทางอากาศการเกิดมลพิษทางดิน และขยะ การเพิ่มของอุณหภูมิโลก การลดลงอขงโอโซนในชั้นบรรยากาศ และความหลายหลายทางชีวภาพที่เปลี่ยไป ผลกระทบของปัญหาเหล่านี้มีความรุนแรงแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอ่อนไหวของแต่ละพื้นที่หรือชุมชน เช่น ปัญหาเรือนกระจก ที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อชาวโลกโดยรวม ส่วนปัญหาน้ำเสียจากโรงงาน ส่งผลกระทบเฉพาะแห่ง หรือเฉพาะชุมชน จึงจำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ระดับความรุนแรง และผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อการจัดการต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

บรรจุภัณฑ์ หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุใดๆ เพื่อใช้ในการบรรจุ ห่อหุ้ม ปกป้องสินค้าจนถึงมือผู้บริโภค

บรรจุภัณฑ์ กับปัญหาสิ่งแวดล้อม

  ปัญหาสิ่งแวดล้อมมีความเชื่อมโยงกับบรรจุภัณฑ์ดังรูปที่ 1 จากวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ ถ้าสามารถนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ หรือนำมาหลอมใหม่ได้ จะสามารถลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมไปได้มาก การกำจัดบรรจุภัณฑ์หลังจากใช้แล้วสามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าสามารถเลือกใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็สามารถแก้ไขได้

  1. การใช้พลังงานในการสกัดแร่ธาตุ เพื่อให้ได้วัตถุดิบบริสุทธิ์สำหรับนำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ เช่น โลหะ หรือการใช้พลังงานในการหลอมทรายให้เป็นแก้ว หรือการใช้สารจากการลั่นน้ำมันผลิตเป็นพลาสติก พลังงานที่ใช้อาจจะอยู่ในรูปของไฟฟ้า น้ำมัน หรือพลังงานในรูปอื่นๆ นอกจากนี้การขนส่งบรรจุภัณฑ์จากแหล่งผลิตไปยังผู้บริโภคก็เป็นข้นตอนที่ต้องใช้พลังงานจากน้ำมัน การเผาทำลาย หรือการนำกลังมาแปรรูปใหม่ ก็ต้องใช้พลังงานเช่นกัน น้ำมันเป็นแหล่งพลังงาน และเมื่อใช้หมดไม่สามารถจะผลิตทดแทนได้ ดังนั้น จึงควรสงวนพลังงานในส่วนนี้ไว้
  2. ปัญหาการใช้น้ำในกระบวนการผลิตวัสดุภัณฑ์ เช่น การผลิตเยื่อกระดาษซึ่งต้องใช้น้ำเป็นปริมาณมาก การบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำ สาธารธะ จำเป็นต้องใช้พลังงาน และมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น
  3. ปัญหาการปนเปื้อนของอากาศ เกิดจากกระบวนผลิต หรือเผาบรรจุภัณฑ์จำพวกพลาสติกในกลุ่มโพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride) และโพลิสไตรรีน (Polystyrene) ซึ่งเกิดจากสารจำพวกสารคลอไรด์ ที่สามารถทำให้เกิดสารไดออกซิน สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ นอกจากนี้ถ้ามีสารกลุ่ม CFC (Chlorofluorocarbon) ที่บรรจุในกระป๋องสเปรย์ และเป็นสารทำให้โฟมมีลักษณะพอง เป็นตัวกลางที่ทำลายชั้นโอโซน ทำให้โลกได้รับรังสีอุลตราไวโอเลตมาก และอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนังได้
  4. ปัญหาขยะที่เกิดจากบรรุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว เป็นปัญหาสำคัญของทุกประเทศ การกำจัดขยะได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของชุมชนเมืองการเพิ่มปริมาณขยะจะเพิ่มตามการขยายตัวของประชากร ในประเทศไทยมีรายงานว่ามีปริมาณการใช้วัสดุเพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้นทุกปีในปี พ.ศ. 2543 มีการใช้พลาสติกเป็นปริมาณ 634,500 ตัน กระดาษ 921,000 ตัน เหล็ก 340,000 ตันและอลูมิเนียม 53,000 ตัน บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตได้ถ้าสามารถกำจัดให้หมดไปจะกลายเป็นปริมาณขยะมาหาศาลเป็นการเสียเงินจำนวนมากเพื่อเป็นการลดปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์ จึงต้องพิจารณาเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้เมื่อนำไปฝัง สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ สามารถนำไปแปรรูปใหม่โดยไม่ก่อมลพิษ และมีความเป็นไปได้ทางเทคนิค และควรลดการใช้บรรจุภัณฑ์ลง นอกจากลดปริมาณขยะ ยังเป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติอีกทางหนึ่ง

ภาพตารางผลกระทบที่มา : กรมควบคุมมลพิษ 

Online Catalog

Online Catalog TU.Pack

Special Promotion

โปรโมชั่น เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์

Article | Knowledge

บทความ สาระน่ารู้

Contact Us

ติดต่อสอบถาม

Contact Form

สอบถามเครื่องแพ็ค เครื่องบรรจุ

APPLY JOB

ร่วมงานกับทียูแพ็ค