บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ (ตอนที่ 2)

บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ (ตอนที่ 2)

ความเดิมตอนที่แล้ว....บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ (ตอนที่ 1)

4. วิธีการบรรจุ

หลักการบรรจุของเหลวลงไปในบรรจุภัณฑ์อาจแบ่งด้วยวิธีการทำงานเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้คือ

 

  1. หลักการบรรจุ พิจารณาจากสภาพของบรรจุภัณฑ์ในขณะที่ทำการบรรจุนั้น ท่อบรรจุมีการปิดฝาหรือปิดฝาของตัวบรรจุภัณฑ์ขณะที่บรรจุ โดยแบ่งเป็น
    • บรรจุขณะที่ท่อบรรจุปิดฝาขวด อันได้แก่ บรรจุแบบแรงโน้มถ่วง บรรจุแบบสุญญากาศ และบรรจุ แบบใช้ความดัน เป็น
    • บรรจุภัณฑ์ที่ท่อบรรจุไม่จำเป็นต้องปิดฝาขวด แยกได้เป็น การบรรจุโดยใช้ระดับเป็นเกณฑ์ บรรจุด้วยลูกสูบันเข้าไป ใช้ถ้วยตวง ใช้น้ำหนักและใช้เวลาเป็นเกณฑ์ เป็นต้น
  2. ลักษณะการเคลื่อนที่ของบรรจุภัณฑ์ พิจารณาแนวทางเคลื่อนที่ของบรรจุภัณฑ์เป็นเกณฑ์ สามารถแยกเป็น 3 ลักษณะ คือ
    • การบรรจุโดยใช้มือ ซึ่งตัวบรรจุภัณฑ์มีการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
    • การบรรจุแบบอัตโนมัติ ตัวบรรจุภัณฑ์มีการเคลื่อนเป็นเส้นตรง
    • การบรรจุแบบอัตโนมัติ ตัวบรรจุภัณฑ์มีการเคลื่อนที่เป็นแบบโรตารี่
filling-machine
การบรรจุแบบอัตโนมัติ ตัวบรรจุภัณฑ์มีการเคลื่อนเป็นเส้นตรง

 

rotary-filler
การบรรจุแบบอัตโนมัติ ตัวบรรจุภัณฑ์มีการเคลื่อนที่เป็นแบบโรตารี่

4.1 การบรรจุในขวดแก้วและกระป๋อง

2

แก้วนับได้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เก่าแก่มากที่สุดประเภทหนึ่ง และยังเป็นที่นิยมใช้อยู่ในอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ ความเฉื่อยในการทำปฏิกิริยาและภาพพจน์ที่ดีดูมีคุณค่าของขวดแก้ว ทำให้บรรจุภัณฑ์แก้วเหมาะสำหรับน้ำผลไม้ที่ต้องการอายุขัยยาวและมักจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้นำกลับมาบรรจุใหม่ (Non - Returnable)

กระป๋องที่ใช้บรรจุน้ำผลไม้ที่ใช้ในการบริโภคครั้งเดียว (Single Serving) มักจะเป็นกระป๋องที่มีฝาเปิดได้ง่าย (Easy Opening) ที่ปิดฝาด้านบนจะปิดเรียบร้อยมาจากโรงงานผลิตกระป๋อง เวลาบรรจุจะบรรจุจากทางก้นกระป๋อง หลังการบรรจุแล้วทำการปิดด้วยตะเข็บคู่ตรงบริเวณก้นกระป๋อง

ปัจจุบันนี้เครื่องจักรที่ใช้ในการบรรจุขวดและกระป๋องสามารถบรรจุได้เร็วถึง 80000 - 100000 หน่วยต่อชั่วโมง แต่เครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปจะบรรจุประมาณ 15000 -30000 หน่วยต่อชั่วโมง การบรรจุมักจะเริ่มต้นจากการดูดอากาศภายในขวดออกก่อนที่บรรจุน้ำผลไม้ลงในขวดเพื่อช่วยเร่งความเร็วในการบรรจุ ส่วนระบบการบรรจุอาจจะเป็นการบรรจุเย็นหรือร้อนหรือแบบปลอดเชื้อ แล้วทำการปิดฝาและปิดฉลาก ในกรณีของการบรรจุร้อนจำต้องมีขั้นตอนการปล่อยในเย็นตัวก่อนการปิดฉลาก

ขนาดของขวดแก้วที่นิยมใช้จะมีปริมาตรบรรจุไม่เกินหนึ่งลิตร เนื่องจากน้ำหนักที่มากของขวดแก้วและความยากลำบากในการใช้งาน ส่วนขนาดของกระป๋องบรรจุน้ำผลไม้ที่นิยมผลิตกันมากในประเทศไทย คือ ขนาด 202 x 504 สำหรับปริมาตรบรรจุ 240 มิลลิลิตร ซึ่งเหมาะสำหรับพกพาเป็นเครื่องดื่มกระป๋อง

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป กระป๋องกระดาษจะเป็นที่นิยมมากในการบรรจุน้ำผลไม้ สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา กระป๋องกระดาษได้รับความนิยมอย่างสูงในการบรรจุน้ำผลไม้เข้มข้นสำหรับแช่แข็งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961

3

กระป๋องกระดาษ สำหรับบรรจุน้ำผลไม้เข้มข้น (Concentrate juice)
       เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกากระป๋องกระดาษที่ใช้บรรจุน้ำผลไม้แช่แข็งมีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 85 % โดยมีปริมาณการใช้มากถึง 2.5 พันล้านกระป๋องต่อปี3 กระป๋องกระดาษสำหรับน้ำผลไม้ยังได้รับความนิยมตราบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจที่พบว่าในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายปริมาณกระป๋องกระดาษที่ใช้ยังมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

4.2 การบรรจุในถังและขวด

       บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ที่ผลิตจากพลาสติกมักจะมีอายุขัยสั้นกว่าน้ำผลไม้ที่บรรจุในขวดแก้วหรือกระป๋อง ในแง่ของระบบบรรจุที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกเหล่านี้มักใช้ระบบบรรจุเย็น ส่วนการบรรจุร้อนอาจใช้ได้กับบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบPET ที่มีการพัฒนาขึ้นมาพิเศษเพื่อการบรรจุร้อนโดยเฉพาะกล่าวในลักษณะโครงสร้างทั่วไปของพลาสติก แม้ว่าจะมีอายุขัยที่สั้นแต่บรรจุภัณฑ์พลาสติกสามารถขึ้นรูปให้มีความหลากหลายของรูปทรงไม่มีข้อจำกัดของปริมาณการบรรจุ ความใสหรือความขุ่นสามารถเลือกได้ตามประเภทพลาสติกที่ใช้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ บรรจุภัณฑ์พลาสติกโดยเฉลี่ยมีราคาต่อหน่วยต่ำ
       การเลือกระบบบรรจุสำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นสิ่งที่พึ่งระวัง เนื่องจากพลาสติกบางประเภทไม่สามารถคงรูปในการรับแรงกดหรือการดึงสุญญากาศ ทำให้มีผลต่อการเลือกประเภทของเครื่องจักรในการบรรจุ นอกจากนี้ถ้าเป็นการบรรจุร้อนแล้วมาปล่อยให้เย็นอาจทำให้รูปทรงของบรรจุภัณฑ์เปลี่ยนไปได้ (Distort) เนื่องจากผิวของบรรจุภัณฑ์ของขวดพลาสติกบางเกินไปหรือรูปทรงที่ออกแบบไม่เหมาะสม

4.3 การบรรจุในกล่องกระดาษแข็ง

       บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งในรูปทรงของฝาแบบหน้าจั่วหรือแบบอิฐ เริ่มใช้ในการบรรจุภัณฑ์นมกล่อง โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์กล่องที่ใช้ในการบรรจุน้ำผลไม้ได้ทำการปรับเปลี่ยนจากกล่องที่ใช้บรรจุนม เนื่องจากสภาพความเป็นกรดของน้ำผลไม้
เครื่องจักรที่ใช้บรรจุทั่วๆไปจะมีกำลังการผลิตประมาณ 1200 - 15000 กล่องต่อชั่วโมง สำหรับการบรรจุประมาณ 1 -2 ลิตรสำหรับกล่องแบบฝาหน้าจั่ว และ 200 มิลลิลิตร - 1 ลิตร สำหรับกล่องรูปทรงแบบอิฐ กล่องที่จะนำมาบรรจุจะพับเรียบ (Carton Flat) จากโรงงานแปรรูปกล่อง บนเครื่องบรรจุจะมีช่องแม็กกาซีน (Magazine) สำหรับเรียงกล่องเพื่อสามารถบรรจุได้อย่างน้อย 10 นาที ในการวิ่งเครื่องบรรจุด้วยความเร็วปกติ

gable top cartons

กล่องกระดาษแบบฝาหน้าจั่ว (Gable Top carton)

       ส่วนกล่องกระดาษแบบรูปทรงอิฐ (Brick) นั้น จะนำกระดาษแข็งเป็นม้วนมาขึ้นรูปกล่องภายในเครื่องบรรจุ โดยเริ่มจากการฆ่าเชื้อกระดาษแข็งแล้วขึ้นรูปกล่องคล้ายๆกับเครื่องบรรจุ Form-Fill-Seal แนวดิ่ง เมื่อพับรอยปิดผนึกทั้งบนและล่างก็จะกลายเป็นกล่องรูปทรงอิฐ

fruit-juice

กล่องกระดาษแบบอิฐ (brick carton)

กระบวนการปลอดเชื้อแบบกล่องกระดาษแข็งนี้มีอยู่หลายระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบที่ใช้อยู่ในประเทศญี่ปุ่น โดยมีความแตกต่างในวิธีขึ้นรูป วิธีการบรรจุและวิธีการทำให้ปลอดเชื้อ ระบบที่ได้รับความนิยมในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกามี 4 ระบบ คือ
1. ระบบของ Tetra Pak เครื่องจักรทำการขึ้นรูป บรรจุ และปิดผนึกตัวกล่องจากวัสดุที่ป้อนเป็นม้วน
2. ระบบของ Comblibloc ทำการขึ้นรูป บรรจุ และปิดผนึกตัวกล่องจากวัสดุที่ป้อนเป็นม้วน
3. ระบบของ Robert Bosch เครื่องจักรที่ขึ้นรูปด้วยความร้อน (Thermoform) บรรจุ และปิดด้วยบรรจุภัณฑ์พลาสติกหรือบรรจุจากกล่องที่ขึ้นรูปไว้แล้ว
4. ระบบบรรจุของเหลวของ Bowater เหมาะสำหรับการฆ่าเชื้อปริมาณมากๆ เพื่อใช้บรรจุในระบบถุงในกล่อง (Bag - in - Box)
       เครื่องจักรสมัยใหม่สำหรับการบรรจุปลอดเชื้อจะมีขั้นตอนอย่างครบสมบูรณ์ (All - in - One Operation) โดยเริ่มตั้งแต่การฆ่าเชื้อก่อนบรรจุ (Pre - Sterilisation) การทำความสะอาดภายในเครื่องอย่างอัตโนมัติ (Clean - In - Place หรือ CIP) การกรองน้ำผลไม้ก่อนบรรจุ (Valve Filters) นอกจากการฆ่าเชื้อด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้น 2% แล้วยังมีการฆ่าเชื้อด้วยแสงยูวี (UV,ultravioletTreatment) การไล่อากาศภายในบรรจุภัณฑ์ด้วยลมร้อนก่อนการบรรจุ และในกรณีใช้บรรจุน้ำผลไม้ที่มีความไวในการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน อาจมีการฉีดก๊าซไนโตรเจนเข้าไปเพื่อปรับสภาวะบรรยากาศภายในกล่อง (Modified Atmosphere Packaging หรือ MAP)

4.4 ถุงใส่ในกล่อง (Bag in Box) และการบรรจุซองหรือถุง

ถุงใส่ในกล่องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มักใช้กับน้ำผลไม้ส่งออกที่มีปริมาณมาก แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีตั้งแต่ขนาดสำหรับบริโภคภายในครอบครัวขนาด 3 ลิตร ขนาดสำหรับสถานที่องค์กรที่มีการบริโภคมากขนาด 20 ลิตร และขนาดสำหรับขนส่ง 200 - 1000 ลิตร ตอนเริ่มแรกในการพัฒนาถุงใส่ในกล่องนั้นเป็นการพัฒนาเพื่อแทนที่ถังขนาด 5 แกลลอน (19 ลิตร) สำหรับอาหารนมเพื่อจัดจำหน่ายแก่องค์กรที่มีการบริโภคนมปริมาณมาก เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น (Institutional Pack) ต่อมาถุงใส่ในกล่องนี้เริ่มแพร่หลายสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ นอกจากอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นของเหลวและของแห้ง ยังนิยมใช้ในอุตสาหกรรมจำพวกเคมี ส่วนประกอบหลักของถุงใส่ในกล่อง ดังแสดงในรูปซึ่งประกอบด้วย

4.4.1 ตัวถุง เป็นบรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่มที่พับได้ มักจะมีโครงสร้างของพลาสติกหลายชั้น พลาสติกที่ใช้เริ่มจาก

ประเภทพื้นฐานที่สุด คือ PE และพัฒนามาเป็น EVA โครงสร้างที่นิยม คือ 50 micron EVA / 325 micron MPET / 50 micron EVA ในปัจจุบันอาจใช้พลาสติกหลายชั้นที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เช่น PE ทำการอัดเป่าร่วม (Co - Extrude) กับ PVDC (Polyvinylidene Chloride) ที่มีความต้านทานต่อการซึมผ่านของออกซิเจนได้ดี

bag-in-box

4.4.2 ตัวกล่องภายนอก ปริมาณบรรจุที่นิยมใช้อยู่ในช่วงขนาด 4-20 ลิตร และตัวกล่องมักจะเป็นกล่องลูกฟูก

อาจจะมีตั้งแต่ 3 ชั้น ถึง 7 ชั้น แปรตามปริมาณของน้ำผลไม้ที่บรรจุภายใน กล่องลูกฟูกนี้มักจะมีภาคตัดขวางเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสและบริเวณด้านหน้าจะมีช่องเปิดเพื่อดึงฝาของถุงออกมาได้ สำหรับน้ำผลไม้ที่ใช้ส่งออกปริมาณมากๆขนาด 114 - 208 ลิตร (30 - 55 แกลลอน) ตัวกล่องภายนอกอาจจะทำจากพลาสติกหรือเป็นถังโลหะ

bag-in-box 1

4.4.3 ตัวฝา ส่วนมากเป็นฝาที่กดแล้วน้ำผลไม้จะไหลออกมาเป็นองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความสะดวกในการ

บริโภค ถ้าเป็นถุงใส่ในกล่องที่เป็นบรรจุภัณฑ์บริโภค ในกรณีที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ขนส่งหรือบรรจุภัณฑ์ที่นำน้ำผลไม้ไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ (Intermediate Package) อาจจะไม่มีฝานี้ติดอยู่ การบรรจุอาจใช้วิธีการบรรจุด้วยมือหรือใช้เครื่องอัตโนมัติ ส่วนระบบการบรรจุมีให้เลือกหลากหลายประเภท ทั้งบรรจุเย็น บรรจุร้อน และระบบปลอดเชื้อ วิธีการบรรจุจะคล้ายๆกับบรรจุกล่อง คือ ถุงเรียงในช่องแม็กกาซีนแล้วมีฝาดูดถุงแต่ละใบให้ตั้งขึ้นแล้วหนีบถุงไว้ในแนวดิ่ง ส่วนการเคลื่อนที่ในขณะบรรจุจะเคลื่อนที่ในแนวราบแบบโรตารี่ โดยแบ่งขั้นตอนเป็นสถานี (Station) เริ่มจากการเปิดปากถุง ด้วยการพ่นอากาศช่วยในการเปิด บรรจุ น้ำผลไม้แล้วปิดฝาของถุง อุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น การฉีดก๊าซเข้าสู่ในถุง ท่อบรรจุสำหรับน้ำผลไม้ที่มีกากหรือสิ่งห้อยแขวน การฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำร้อน การบรรจุภายใต้บรรยากาศปลอดเชื้อ อุโมงค์สำหรับการหล่อเย็น เป็นต้น สำหรับถุงขนาด 19 ลิตร สามารถบรรจุได้ด้วยความเร็วจาก 4 ถุงต่อนาที (76 ลิตร/นาที) จนถึง 20 ถุงต่อนาที (380 ลิตร/นาที)
       รูปแบบบรรจุภัณฑ์ถุงใส่ในกล่องนี้เอื้ออำนวยประโยชน์คณานับ เริ่มตั้งแต่น้ำหนักตัวบรรจุภัณฑ์ที่เบา ขนส่งสะดวก ประหยัดเนื้อที่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดส่งตัวบรรจุภัณฑ์เปล่าที่พับเรียบได้ระหว่างส่งไปยังโรงงานบรรจุ หรือเมื่อบรรจุน้ำผลไม้แล้ว ตัวบรรจุภัณฑ์มักจะมีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสทรงลูกเต๋าซึ่งประหยัดเนื้อที่ในการขนส่ง สิ่งที่พึงระวัง คือ คุณภาพของกล่องภายนอกที่ใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นกล่องลูกฟูกต้องมีความแข็งแรงพอ นอกจากนี้คุณภาพของถุงและฝาที่ใช้จะต้องมีการตรวจคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น การรั่วซึม เป็นต้น

5.บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้กับสิ่งแวดล้อม

จากการศึกษาของบริษัทโคคา - โคลา ในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปีค.ศ. 1989 ด้วยการศึกษาเจาะลึกด้านการวิเคราะห์วงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์ (Life - Cycle Analysis) ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมของบรรจุภัณฑ์ 6 ประเภท สำหรับน้ำส้มพบว่า บรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อแบบกล่องรูปทรงอิฐที่เป็นบรรจุภัณฑ์แบบ Shelf - Stable นั้นใช้พลังงานน้อยกว่าบรรจุภัณฑ์แบบอื่นๆ ที่ต้องแช่เย็น สืบเนื่องจาการแช่เย็นจำต้องใช้พลังงานสูงมากถึง 45 - 79 % ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในการขนส่งน้ำผลไม้ การศึกษานี้ยังได้เปรียบเทียบบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียว (One - Way หรือ 0% Recycling) กับบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาผลิตใหม่ (100% Recycling) เช่น บรรจุภัณฑ์แก้วหรือบรรจุภัณฑ์กระป๋อง ก็ยังพบว่าบรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อยังเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้พลังงานน้อยที่สุด ดังแสดงในตารางต่อไปนี้


ตารางที่ 3 พลังงาน (หน่วย ล้านบีทียู) ที่ใช้ในการจัดส่งน้ำส้มปริมาณ 1000 แกลลอน

ประเภทบรรจุภัณฑ์0%Recycling100%Recycling
ขวดพลาสติก ขนาด 96 ออนซ์ 103 96
ขวดพลาสติก ขนาด 128 ออนซ์ 102 95
กล่องกระดาษแข็งฝารูปทรงหน้าจั่ว (Gable) ขนาด 64ออนซ์ 75 73
กล่องกระดาษแข็งฝารูปทรงอิฐแบบปลอดเชื้อ ขนาด 8.45 ออนซ์ 30 27
กระป๋องกระดาษ (Composite Can) ขนาด 12 ออนซ์ 116 116
ขวดแก้ว ขนาด 10 ออนซ์ 62 59

แหล่ง : Coca - Cola Foods, Houatom, Tx, Dec. 1989

ในแง่ของผู้บริโภค บางชุมชนมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งน้ำผลไม้ โดยอ้างว่ากล่องประเภทนี้มีการเคลือบด้วยวัสดุหลายชนิดในโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ทำให้นำกลับมารีไซเคิลลำบาก ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีการจำกัดการใช้กล่องประเภทนี้ในสินค้าอุปโภคบริโภคบางประเภทเท่านั้น ในความเป็นจริง กล่องที่ใช้แล้วเหล่านี้สามารถนำมาย่อยแล้วใช้แปรรูปเป็นวัสดุอย่างอื่น เช่นอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อุตสาหกรรมสารป้องกันการสั่นกระแทก (Cushioning) เป็นต้น

6.สถานะของบรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ในตลาดขายปลีกไทย

จากการเก็บข้อมูลของนิติชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2544 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงวันที่ 10 - 16 สิงหาคม 2544 จากร้านค้าปลีกจำนวน 30 แห่ง โดยไม่ซ้ำสถานที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อันประกอบด้วยห้างสรรพสินค้าจำนวน 3 แห่ง ซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีเครือข่ายทั่วประเทศจำนวน 18 แห่ง และซุปเปอร์มาร์เก็ตรายย่อยอีก 9 แห่ง โดยทำการบันทึกประเภทบรรจุภัณฑ์ที่พบในตลาดขายปลีก โดยแยกตามขนาดที่บรรจุและชนิดของน้ำผลไม้ ได้สรุปไว้ในภาคผนวกที่ 3 และมีที่น่าสังเกต ดังต่อไปนี้

  1. ประเภทของบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้มีอัตราส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ดังนี้ กระป๋อง (57%) กระดาษแข็ง(35%) ขวดพลาสติก (7%) และขวดแก้ว (1%) ตามลำดับ รูปแบบกล่องกระดาษที่ใช้มีทั้งกล่องรูปทรงอิฐและรูปทรงจั่วโดยรูปทรงจั่วมีใช้อยู่เพียงยี่ห้อเดียว คือ Nestle
  2. ขนาดบรรจุ ขนาดบรรจุภัณฑ์ที่นิยมจะแปรตามบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ตัวอย่าง เช่น บรรจุภัณฑ์แบบบริโภคครั้งเดียว (Single Serving) กระป๋องที่บรรจุขนาด 240 cc จะเป็นขนาดที่นิยมบรรจุมากที่สุด รองลงมา คือ บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแบบอิฐขนาด 200 cc สำหรับบรรจุภัณฑ์แบบครอบครัวหรือแบบทานหลายครั้ง บรรจุภัณฑ์แบบกล่องอิฐขนาด 1000 cc จะเป็นที่นิยมมากที่สุด
  3. ชนิดของน้ำผลไม้ ตามการสำรวจครั้งนี้พบว่าน้ำผลไม้ที่มีการวางจัดจำหน่ายมากที่สุด คือ น้ำส้ม และชนิดของน้ำผลไม้ที่มีการวางจำหน่ายมากรองลงมา คือ น้ำแครอท

7. บทสรุป
       น้ำผลไม้ไม่เพียงแต่เพิ่มบทบาทในชีวิตประจำวัน ยังเป็นสินค้าเศรษฐกิจที่สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศชาติ เริ่มต้นจากน้ำสับปะรดที่มีการส่งออกมานานกว่า 20 ปี บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้มีหลายประเภท กระป๋องนับได้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมมานาน บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากเรื่อยๆ คือ กล่องกระดาษแข็ง ส่วนถุงใส่ในกล่องจะพบเฉพาะในตลาดส่งออก ระบบการบรรจุที่ใช้อาจแบ่งเป็น กรบรรจุเย็น การบรรจุร้อน และการบรรจุปลอดเชื้อ ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ในการวางตำแหน่งตลาด (Market Positioning) ของน้ำผลไม้เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค

       จากการสำรวจสถานะบรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ในตลาดขายปลีกจำนวน 30 แห่ง พบว่ากล่องกระดาษแข็งแบบทรงอิฐเป็นแบบที่พบมากที่สุดทั้งในรูปแบบการบรรจุสำหรับการบริโภคครั้งเดียว (Single Serving) ขนาด 200 cc หรือแบบครอบครัว ขนาดบรรจุ 1000 cc บรรจุภัณฑ์กระป๋องเป็นบรรจุภัณฑ์อีกประเภทหนึ่งที่
ที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/news_and_articles/article/0087/บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้-ตอนที่-2- 

Online Catalog

Online Catalog TU.Pack

Special Promotion

โปรโมชั่น เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์

Article | Knowledge

บทความ สาระน่ารู้

Contact Us

ติดต่อสอบถาม

Contact Form

สอบถามเครื่องแพ็ค เครื่องบรรจุ

APPLY JOB

ร่วมงานกับทียูแพ็ค